วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หนังสือเดินทาง

"Everyone can fly" ขอหยิบยืมสโลแกนของสายการบินแอร์เอเชียมาใช้นะคะ เพราะทุกวันนี้การเดินทางไปต่างประเทศนั้นไม่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะคนกระเป๋าตุงอีกต่อไป แน่นอนว่าการเดินทางออกนอกประเทศสิ่งสำคัญที่สุดคือ "หนังสือเดินทาง" มีเงินก็ออกนอกประเทศไม่ได้ถ้าไม่มีหนังสือเดินทางหรือเราเรียกกันอย่างติดว่า "พาสปอร์ต" การทำหนังสือเดินทางนั้นก็ไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญอย่างที่คิดอีกเหมือนกัน คือ
บุคคลบรรลุนิติภาวะ - ใช้แค่บัตรประชาชนตัวจริง (ยกเว้นมีการแก้ไขชื่อ ชื่อสกุล ฯลฯ)
ผู้เยาว์ แบ่งเป็นสองช่วง
อายุ 15-20 ปี             - บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
                                  - บิดาและมารดาต้องมาลงนามทั้งสองคน
อายุแรกเกิด - 14 ปี    - สูติบัตร ฉบับจริง (หากมีบัตรประชาชนแล้วต้องแสดงบัตรตัวจริง)
                                  - บิดาและมารดาต้องลงนามทั้งสองคน

สำหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ต่างประเทศและมีสัญชาติประเทศนั้นๆ หรือว่าผู้เยาว์ที่มีสองสัญชาติแล้วนั้น ก็สามารถขอหนังสือเดินทางไทยได้หากยังไม่ได้สละสัญชาติไทยโดยใช้เอกสารตามข้างต้นนั่นแหละ
ส่วนคำถามที่พบบ่อยๆคือว่า ชื่อกับนามสกุลภาษาอังกฤษในหนังสือเดินทางกับบัตรประชาชนไม่เหมือนกันมีปัญหาไหม ตอบโดยอ้างอิงจากกรมการกงสุลว่า "ไม่จำเป็นต้องสะกดให้ตรงกับบัตรประชาชน แต่ผู้ร้องต้องยืนยันตัวสะกดชื่อ-สกุลภาษาอังกฤษให้ถูกต้องชัดเจน"
และหากเด็กที่มีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างชาติและอาศัยอยู่ต่างประเทศแล้วนั้น บิดาหรือมารดาจะต้องทำหนังสือยินยอมผ่านสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ซึ่งได้รับการรับรองสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ฯ มาแสดงประกอบคำขอ
และคำถามยอดฮิตอีกข้อคือ ทำอย่างไรหากจะทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็กที่บิดามารดาแยกทางกัน คำตอบต้องแยกเป็นสองกรณีนะคะคือ
1. หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน แล้วแยกทางกัน ทั้งบิดาและมารดาต้องลงนามทั้งสองคน
2. หากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แล้วแยกทางกัน
- ถ้าเด็กอยู่กับบิดา บิดาต้องร้องขอต่อศาลเพื่อขออำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว แล้วบิดาจึงสามารถลงนามให้ความยินยอมแต่ฝ่ายเดียวได้
- ถ้าเด็กอยู่กับมารดา มารดาสามารถติดต่ออำเภอเพื่อทำหนังสือปกครองบุตร (ป.ค.14) แต่เพียงผู้เดียว แล้วมารดาจึงสามารถลงนามให้ความยินยอม ฯ แต่ฝ่ายเดียวได้

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ Korat-Legal Services

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น