วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประกันสังคม: ผู้ประกันตน

หลายๆคนคงได้ยินคำถามเวลาเขาถามว่าเป็นผู้ประกันตนแบบมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 หรือ 40 แต่สงสัยว่ามันคืออะไรกัน และต่างกันอย่างไร วันนี้เลยเอามาเขียนเป็นหัวข้อว่า "ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท"

ผู้ประกันตนตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกันสังคมนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ภาคบังคับ) เป็นผู้ประกันตนประเภท "พนักงานเอกชนทั่วไป" คือเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ และมีคุณสมบัติคืออายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีและไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) เป็นผู้ประกันตนประเภท "เคยเป็นพนักงานแต่ลาออกมาแล้ว" หมายความว่าเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ภาคบังคับ) และได้ส่งเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกินกว่า 6 เดือน แล้วยื่นคำขอเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ

3. ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ภาคสมัครใจ) เป็นผู้ประกันตนประเภท "ประกอบอาชีพอิสระ/แรงงานนอกระบบ" หมายความว่ามิใช่เป็นบุคคลผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ 39 การเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 นี้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันรับสมัคร

คราวหน้าจะมาบอกถึงเรื่องเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนแต่ละประเภท


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่ Korat-Legal Services

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น